ความน่าสงสัยในโปรเจคเตอร์แสงเลเซอร์
  การแบ่งประเภทเครื่องฉายภาพ
  แนวโน้มโสตทัศนูปกรณ์ใน พ.ศ. 2561
  สีตอน 2
  เลนส์ซูมแท้ไม่แท้
  TV Line
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน2
  ประวัติโปรเจคเตอร์ VDO/Computer
  คีย์สโตน (KEYSTONE) ตอน1
  ตารางเปรียบเทียบLCD&DLP
  Interlace
  เลนส์ควบแสงในเครื่องฉายสไลด์
  อัตราส่วนเปรียบต่าง ตอน1
  เตรียมตัวก่อนเลือก
ซื้อโปรเจคเตอร์
  ปลั๊กสัญญาณภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast)ตอนจบ
  โปรเจคเตอร์จอกว้าง
  Up-date ปี 2551
  โปรเจคเตอร์จิ๋ว
  ด้านหน้า/หลัง ของเลนส์
  ฉายภาพ
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน3
  โปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้น
  BrighEra LCD ยุคใหม่
  ลูเมนขาว/ลูเมนสี
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน2
  Kell Factor
  เปรียบต่าง(Contrast) ตอน1
  ความละเอียดของ   
  วิชวลไลเซอร์
  Rainbow Color Artifact
  ปัญหา Screen Door Effect
  Rule of Sixth
  การเลือกซื้อจอภาพระบบ  
  LCD TV
 
 
 
 
   
 
TV Line

          ครั้งหนึ่ง บ.มิตซูบิชิ อีเล็คทริกกันยงวัฒนา ได้จัดอบรมเรื่องโปรเจคเตอร์ให้กับเซลล์ใหม่ของ บ.กันยง จ.ก.

   ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นอยู่กับ บ.มิตซูฯ ขณะเดียวกันเขาก็ให้ร้านของผมเข้าร่วมอบรมด้วย เนื่องจากเพิ่งสมัครเข้าเป็นดีลเลอร์

   อยู่ๆเซลล์ของผมก็ถามผู้บรรยายเกี่ยวกับ TV Line แต่ผู้ให้การอบรมไม่ยอมตอบ ส่วนผมเองก็รู้สึกอับอาย

   มันเหมือนกับว่าของผมไม่รู้เรื่องนี้ ทำให้ลูกน้องต้องไปถามคนอื่น

   ต่อมาก็มีพนักงานของดีลเลอร์ที่ บ.มิตซูฯ โอ๋แหลกถามเรื่อง TV Line อีกเหมือนกันระหว่างที่เขาจัดการอบรมให้กับดีลเลอร์ทั่วๆไป

   แล้วอยู่ๆ ผู้ให้การอบรมของมิตซูฯ ก็ฉายภาพที่มีเส้นบางๆแบบเส้นบรรทัดอยู่ 4-6เส้น แล้วบอกว่า เส้น TV Line เป็นอย่างนั้น

   เสร็จแล้วก็ฉายอีกภาพที่มีเส้นบางๆ แบบเดิมมากขึ้น เสร็จแล้วเขาก็บอกว่า ถ้า TV Line มีจำนวนเส้นมากขึ้นก็จะเป็นอย่างนั้น

 


ถ้าเส้นน้อยจะเป็นแบบภาพด้านซ้าย ถ้าเส้นมากจะเป็นแบบภาพด้านขวา
มิตซูฯ บอกว่า TV Line มีเส้นมากขึ้นก็จะเป็นแบบนี้


   ไม่ทราบว่าวันนั้นผมเป็นอะไร คงจะหงุดหงิดกับผู้ให้การอบรมมากกว่า ผมเลยพูดออกมาดังๆว่า เส้น TV Line ไม่ใช่อย่างนั้น

   แต่ไม่บอกว่าแล้วเส้น TV Line แท้จริงเป็นอย่างไร เล่นเอาผู้ให้การอบรมเงียบไปนานมากๆ ก่อนจะเปลี่ยนเรื่องการบรรยาย

   สำหรับผมนั้นจบถึงวันนี้ก็ยังไม่เจอบทความเรื่อง TV Line แต่เชื่อว่าน่าจะเหมือนการวัด Resolution (หนังสือศัพท์วิทยาศาสตร์

   อังกฤษ-

   ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสยาม พิมพ์ครั้งที่ 5 แปลว่า การแยกชัด) ของเลนส์ถ่ายรูป

   ผมไม่ได้สนใจขั้นตอนการวัดว่าเป็นอย่างไร เพราะไม่คิดจะวัดเอง แต่มีบริษัทแห่งหนึ่งเขาทำชาร์ท (Chart) Line

   ขึ้นผมไม่ทราบว่าแผ่นชาร์ทนั้นใหญ่แค่ไหนและต้องถ่ายในระยะเท่าไหร่

   แต่เส้น Line นั้นเป็นเส้นสีดำหนาสลับกับเส้นสีขาวที่หนาเท่ากัน ถ้าเส้นยิ่งหนาก็จะมีจำนวนสีน้อย

   แต่ถ้าเส้นยิ่งบางจะแสดงจำนวนเส้นได้มากขึ้น

 


เมื่อเขียนภาพนี้ความกว้างของเส้นสีดำ-ขาวดูคล้ายว่าเส้นขาวจะกว้างกว่าสีดำ


    วิธีวัดก็คือให้ถ่ายภาพเส้น Line นี้ที่มีเส้น Line มากขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่สามารถแยกแยะเส้นสีดำจากเส้นสีขาวได้

   ก็ให้ถือภาพที่แสดงจำนวนเส้น Line มากที่สุดก่อนจะไม่สามารถแยกแยะเส้นสีดำกับสีขาวได้ ว่านั้นคือ Resolution ของภาพ

   เกือบลืมบอกไปว่า ผมไม่ทราบขนาดของแผ่นชาร์ท และไม่ทราบระยะที่ต้องถ่ายในรายการสารคดีทางโทรทัศน์รายการหนึ่ง เขาก็ใช้

   Line

   ในการวัดว่านกอินทรีย์ มีสายตาที่คมชัดกว่ามนุษย์เท่าไหร่ ทำให้ผมเชื่อว่าการวัด Resolution ของ TV ที่เรียกว่า TV Line

   ก็น่าจะเหมือนกัน

   ในการวัด TV Line ในโทรทัศน์ หรือโปรเจคเตอร์เขาใช้เฉพาะภาพที่ใช้เทคโนโลยี Cathode Ray Tube (CRT) เท่านั้น และ CRT

   นี้สามารถปรับความละเอียดได้

   ในจอ TV หรือโปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีสร้างภาพที่ไม่สามารถปรับขนาดของพิกเซล (Pixel) ได้ที่เรียกว่า Fix Pixel อย่างเช่น LCD

   หรือ DMD เขาใช้ Kell Factor แทนซึ่งท่านมาสารถอ่านได้จากเรื่อง

   Kell Factor

 
 
 
  ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีระซัพพลายส์  
  81-83 ซอย เฉลิมเขตร์ 1 ถนน เฉลิมเขตร์ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100  
  โทร. (02) 2211424, 2231864, 2239122, 6216198-9 แฟกซ์ (02) 2249231